IQ Plus Translation ศูนย์การแปลนานาชาติ ไอคิว พลัส เซ็นเตอร์

รับแปลเอกสารพร้อมรับรองทุกภาษาทุกชนิด โดยทีมงานมืออาชีพ

จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น (ในประเทศไทศไทย)

จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น-ที่ประเทศญี่ปุ่น-คู่สามีภรรยา-ยืนถ่ายรูปข้างนอก


(กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศญี่ปุ่นภายหลัง)

กรณีจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทยนั้น คู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องยื่นขอ หนังสือรับรองความเป็นโสด และ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส จากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนำเอกสารนั้นไปรับการประทับตรารับรองจากกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศไทยก่อนแล้วจึงนำไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยต่อไป

คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องมายื่นขอหนังสือรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและจำเป็นต้องแสดงตัว ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยด้วยตนเอง โดยจากระเบียบการดังกล่าวแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ดังนั้น คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นที่จะยื่นจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่นที่ประเทศไทยก่อนนั้น กรุณาเผื่อเวลาการพำนักในประเทศไทยด้วย

 
การจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น ณ ที่ว่าการเขต / อำเภอของประเทศไทย


(1) การยื่นขอ “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” นั้น ต้องเตรียมเอกสารตามที่ระบุดังต่อไปนี้

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น

1. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคะเซกิโทฮ่ง) 1 ฉบับ
ทะเบียนครอบครัว คือ เป็นงานทะเบียนประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว หรือเรียกว่า "โคะเซกิโทฮ่ง" ซึ่งต้องออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่นเอกสาร

สำหรับผู้ที่เคยสมรสมาก่อนต้องนำทะเบียนครอบครัวที่ระบุเรื่องการหย่าหรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเดิมมาด้วย
หนังสือรับรองความเป็นโสดนั้นออกจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น ดังนั้น กรุณาเขียนคำอ่าน (ฟุริกานา) กำกับชื่อสกุล, ชื่อบิดามารดา, ภูมิลำเนาและสถานที่เกิดด้วย

2. ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (จูมินเฮียว) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น

3. หนังสือรับรองการทำงาน (ไซโชคุโชเมโชะ) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
หนังสือรับรองการทำงานที่ตนเองพิมพ์ขึ้นหรือออกจากบริษัทนั้นต้องได้รับการประทับตรารับรองจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนของสำนักงานทะเบียน (โคโชนินยะคุบะ) แล้วจึงนำไปรับการประทับตรารับรองว่าเป็นการรับรองที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ทะเบียนที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานด้านกฎหมายส่วนท้องถิ่นของกระทรวงยุติธรรม (ชิโฮโฮมุเคียวคุ)
ในกรณีหนังสือรับรองการทำงานออกจากหน่วยงานราชการแล้วก็ไม่จำเป็นต้องรับการประทับตรารับรองอีก

กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น

* บุคคลที่ไม่ได้ทำงาน ไม่จำเป็นต้องใช้
* กรณีเป็นนักศึกษาต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันที่กำลังศึกษา

4. หนังสือรับรองรายได้ (โชะโทคุโชเมโช) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
หนังสือรับรองรายได้ซึ่งออกจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
หนังสือรับรองการเสียภาษีซึ่งออกจากบริษัทฯ ต้องได้รับการประทับตรารับรองจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนของ สำนักงานทะเบียน (โคโชนินยะคุบะ) แล้วจึงนำไปรับการประทับตรารับรองฯ จากสำนักงานด้านกฎหมายส่วนท้องถิ่นของกระทรวงยุติธรรม (ชิโฮโฮมุเคียวคุ) ด้วย

กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น

*บุคคลที่ไม่ได้ทำงาน ไม่จำเป็นต้องใช้

5. หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนาหน้ารายละเอียด 1 ชุด)

6. ใบคำร้องในการขอหนังสือรับรอง 1 ฉบับ (กรอกด้วยภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ)
ใบคำร้องฯ จัดวางไว้ในห้องยื่นขอหนังสือรับรองและขอได้ที่ที่เคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

7. แบบสอบถามเพื่อพิมพ์ [ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส ]
ควรกรอกข้อความในแบบสอบถามให้ครบถ้วนเพื่อที่สถานทูตญี่ปุ่นจะได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการพิมพ์

8. หนังสือมอบอำนาจ 1 ใบ (ในกรณีให้ผู้อื่นมายื่นแทน)

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย

1. บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)

2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
หน้าซึ่งต้องถ่ายสำเนา
• หน้าที่อยู่/ หน้ารายละเอียดของผู้ยื่น/ กรณีคู่สมรสฝ่ายไทยมีการแก้ไขรายการใดๆ แล้ว ต้องถ่ายสำเนาหน้า 18 มาด้วย

3. หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องนำมา

4. กรุณาเตรียมเอกสารข้างล่างนี้มาด้วย ในกรณี........
กรณีเคยสมรสมาก่อน......... ใบสำคัญการหย่า ( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
กรณีเคยเปลี่ยนชื่อสกุล......... ใบเปลี่ยนชื่อสกุล ( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
กรณีมีบุตรโดยไม่ได้สมรส......... ใบสูติบัตรของเด็ก ( ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)


(2) หลังจากเตรียมเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นครบถ้วนแล้ว กรุณานำมายื่นที่เคาน์เตอร์ แผนกหนังสือรับรองหนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

สถานเอกอัครฯ จะออกหนังสือรับรองความเป็นโสด และ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติฯ ฉบับภาษาอังกฤษให้คู่สมรส


ในวันรับเรื่อง คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหรือเจ้าของเรื่องกรุณามาที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นด้วยเพื่อตรวจสอบเนื้อหาในหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรสซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพิมพ์ให้และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองดังกล่าว

เงื่อนไขของผู้ยื่นคำร้อง
ให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ (เวลายื่น กรุณานำหนังสือมอบอำนาจมาด้วย)
คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหรือเจ้าของเรื่องต้องมารับเรื่องด้วยตนเอง

การรับเรื่อง
สามารถมารับเรื่องคืนได้ในวันถัดจากวันยื่น

ค่าธรรมเนียม
หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส480.00 บาท/หนังสือรับรองความเป็นโสด 340.00 บาท
ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่มารับเรื่อง

เวลาทำการเคาน์เตอร์
เวลายื่นและรับเรื่อง ตั้งแต่เวลา 08:30-12:00 น. 13:30-16:00 น.
วันจันทร์-วันศุกร์ (วันหยุด วันเสาร์วันอาทิตย์, วันหยุดราชการไทย วันหยุดสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย(PDF))


(3) ผู้ขอจดทะเบียนสมรสต้องแปลเอกสาร รับรองเอกสาร “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยออกให้นั้นเป็นภาษาไทยและนำไปรับการประทับตรารับรองเอกสารจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทยด้วย ศูนย์แปลนานาชาติไอคิวพลัส พร้อมให้บริการแปลพร้อมรับรองเอกสารยื่นกงสุล จนจบกระบวนการ รับคำปรึกษาฟรีได้ที่ สถาบันไอคิวพลัสเซ็นเตอร์ (iQ PLUS CENTER) แปลเอกสารได้ที่นี่ https://iqplustranslation.com/


(4) หลังจากได้รับหนังสือรับรองฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศไทยประทับตรารับรองแล้ว ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนำหนังสือรับรองฯ ดังกล่าวไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเพื่อทำการจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติต่อไป

จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น ใช้เอกสารอะไรบ้าง

 

ฝ่ายชาวต่างชาติ (เอกสารตัวจริงเท่านั้น)

- หนังสือเดินทางพร้อมหน้าวีซ่า / ใบอนุญาตพำนักในไทยที่ยังไม่หมดอายุ / ใบอนุญาตทำงาน (ถ้ามี)

- ใบรับรองความโสด (ขอ ณ สถานทูตของชาวต่างชาติในประเทศไทย)

- ใบหย่า (ถ้ามี)

- ใบสูติบัตรบุตร (ในกรณีที่มีบุตรกับผู้ที่ต้องการสมรส)

 

 

ฝ่ายชาวไทย (เอกสารตัวจริงเท่านั้น)

- บัตรประชาชน

- ทะเบียนบ้าน

- ใบหย่า (ถ้ามี)


หลังจากที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยรับเรื่องการจดทะเบียนสมรสแล้วจะออก “ใบสำคัญการสมรส” ให้คู่สมรสทั้งสอง เป็นการเสร็จสมบูรณ์ของระเบียบการจดทะเบียนในประเทศไทย

(5) คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะยื่นจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่คู่สมรสฝ่ายไทยมีทะเบียนบ้านอยู่ หากคู่สมรสหญิงฝ่ายไทยต้องการเปลี่ยนคำนำหน้านาม (จากนางสาวเป็นนาง)หรือต้องการเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว คู่สมรสฝ่ายไทยกรุณาแจ้งที่ว่าการเขต/อำเภอที่ตนมีทะเบียนบ้านอยู่ด้วย

มือสามีภรรยาสวมแหวนแต่งงาน-แต่งงานกับคนญี่ปุ่น

การแจ้งเรื่องการจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น ณ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย

(1) หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยแล้ว กรุณาแจ้งการจดทะเบียนสมรสดังกล่าว ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยต้องแจ้งการจดทะเบียนสมรสภายในสามเดือน
การแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะแจ้งที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย หรือสำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นก็ได้โดยยื่นเอกสารดังต่อไปนี้

(A) กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น ใช้อะไรบ้าง

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น

1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2 ฉบับ → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส
ขอได้ที่เคาน์เตอร์ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
การลงลายมือชื่อของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายในช่องลงลายมือชื่อของผู้ยื่นคำร้องฯ กรุณาลงลายมือชื่อตัวบรรจงไม่ใช่ลายเซ็น อนึ่ง กรณีคู่สมรสฝ่ายไทย ควรลงลายมือชื่อด้วยภาษาไทย(เขียนด้วยตัวอักษรไทยตัวบรรจงให้อ่านออกได้ ไม่ใช่ลายเซ็น) นอกจากนี้ กรณีชาวต่างชาติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตราประทับหรือการพิมพ์ลายนิ้วมือ

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
1.ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น(โคะเซกิโทฮ่ง) 2 ฉบับ
ต้องเตรียมเอกสารมาอีก 1 ฉบับในกรณีหลังการสมรสมีการเปลี่ยนภูมิลำเนาจากภูมิลำเนาที่ตนอยู่
สำเนาทะเบียนครอบครัวต้องออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
1. ใบสำคัญการสมรส (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ → แบบการแปลภาษาญี่ปุ่น WORD / PDF

2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ → แบบการแปลภาษาญี่ปุ่น WORD / PDF

 

 

 


(B) กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น (เอกสารจำเป็นที่ระบุไว้ข้างล่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น สามารถสอบถามรายละเอียดโดยตรงที่สำนักทะเบียนเขต/ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่จะแจ้งการจดทะเบียนสมรสก่อน)

จดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่น ใช้เอกสารอะไรบ้าง
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
1. ใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2 ฉบับ

ใบคำร้องขอได้ที่เคาน์เตอร์ ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและเป็นใบคำร้องใช้สำหรับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นในต่างประเทศ ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ใบคำร้องฯ ที่ใช้ยื่นในประเทศญี่ปุ่น
การลงลายมือชื่อของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายในช่องลงลายมือชื่อของผู้ยื่นคำร้องฯ กรุณาลงลายมือชื่อตัวบรรจงไม่ใช่ลายเซ็น อนึ่ง กรณีคู่สมรสฝ่ายไทย กรุณาลงลายมือชื่อด้วยภาษาไทย(เขียนด้วยตัวอักษรไทยตัวบรรจงให้อ่านออกได้ไม่ใช่ลายเซ็น) นอกจากนี้ กรณีชาวต่างชาติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตราประทับหรือการพิมพ์ลายนิ้วมือ

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
1.ทะเบียนครอบครัว (โคะเซกิโทฮ่ง) 1 ฉบับ
ไม่จำเป็นหากยื่นที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาอยู่ แต่กรุณาเตรียมไว้หากยื่นที่สำนักทะเบียนเขต/อำเภออื่นนอกเหนือจากภูมิลำเนาตน (เช่นใน พื้นที่ที่อาศัยอยู่หรือที่พำนักชั่วคราว) 1 ฉบับ
ทะเบียนครอบครัวซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น

เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
1. ใบสำคัญการสมรส (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ

2. ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ


หมายเหตุ: การจดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ควรคำนึงถึง
ข้อแตกต่างของการแจ้งการจดทะเบียนสมรสแบบ (A) และ (B) คือ เวลาที่ใช้ในการบันทึกการสมรสลงในทะเบียนครอบครัว (โคะเซกิ)โดยการแจ้งการจดทะเบียนฯ แบบ (A) ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนครึ่งถึงสองเดือน ในขณะที่การจดทะเบียนแบบ (B) ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ดังนั้น คู่สมรสที่ต้องการใช้เวลาน้อย ควรเลือกการแจ้งการจดทะเบียนฯ แบบ (B)

 

 


ข้อควรระวังเกี่ยวกับการแปลเอกสารและรับรองเอกสาร

หนังสือรับรองที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยนั้นเป็นภาษาไทย ดังนั้นกรุณาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อนำไปยื่น ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
เอกสารฉบับแปลภาษาญี่ปุ่นนำไปยื่นที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยไม่จำเป็นต้องรับการประทับตรารับรองคำแปลจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ควรระบุชื่อสกุลของผู้แปลลงในเอกสารฉบับคำแปลด้วย

(2) หลังจากแจ้งการจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ (กรณีแจ้งการจดทะเบียนฯ ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยใช้เวลาเดือนครึ่งถึงสองเดือน) จึงได้รับทะเบียนครอบครัวใหม่ซึ่งบันทึกการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายไทย แล้วจึงถือว่าเสร็จสิ้นระเบียบการการแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่น อนึ่ง กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยนั้นสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจะไม่แจ้งให้คู่สมรสทราบเรื่องทะเบียนครอบครัวใหม่ซึ่งมีการบันทึกการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายไทย ดังนั้น คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นกรุณาสอบถามจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง



แผนกหนังสือรับรอง หนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2207-8501, 0-2696-3001 (ภาษาญี่ปุ่น)
หมายเลขโทรสาร : 0-2207-8511
E-mail: ryouji-soumu@bg.mofa.go.jp

แผนกหนังสือรับรอง หนังสือเดินทาง สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ เชียงใหม่
หมายเลขโทรศัพท์ : 053-203367 (ต่อ 103) (ภาษาญี่ปุ่น)
หมายเลขโทรสาร : 053-203373

ศูนย์แปลนานาชาติไอคิวพลัส บริการแปลเอกสารพร้อมรับรองยื่นกงสุลแบบครบกระบวนการ

ติดต่อพร้อมรับคำปรึกษา สถาบันไอคิวพลัสเซ็นเตอร์ (iQ PLUS CENTER) ได้ที่เว็บไซด์ www.iqplustranslation.com


หลังจากขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสกับคนญี่ปุ่นเสร็จสมบูรณ์ตามระเบียบการของทั้งสองประเทศแล้ว คู่สมรสฝ่ายไทยที่ต้องการยื่นขอวีซ่าระยะยาวเพื่อพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นนั้น คู่สมรสฝ่ายไทยจะต้องขอใบรับรองสถานภาพการพำนักโดยคู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องยื่นขอเอกสารดังกล่าวจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้กับที่พำนักของตน ณ ประเทศญี่ปุ่น และ เอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องนำมาด้วยเวลายื่นขอวีซ่านั้น ให้ดู “ระเบียบการขอวีซ่าสำหรับผู้ที่ได้รับใบสถานภาพการพำนัก” ประกอบด้วย และกรุณายื่นเอกสารเพื่อขอวีซ่าได้ที่ ศูนย์รับเรื่องยื่นวีซ่าประเทศญี่ปุ่น (JVAC) ในวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08:30 น. - 18:00 น. (ไม่มีพักกลางวัน) อาคารวันแปซิฟิกเพลส ชั้น 9 (ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีนานา) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2251-5197-8 และ ศูนย์รับเรื่องยื่นวีซ่าประเทศญี่ปุ่นแห่งที่ 2 (JTB) (ศูนย์สีลม สำหรับผู้ที่ทำการนัดหมายล่วงหน้าเท่านั้น) ในวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08:30 น. - 18:00 น. (ไม่มีพักกลางวัน) ชั้น 10 ตึกญาดา (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดง ทางออกหมายเลข 3) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2632-9801

อนึ่ง เกี่ยวกับการยื่นขอใบรับรองสถานภาพการพำนักในประเทศญี่ปุ่นนั้น กรุณาสอบถามโดยตรง ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นที่ใกล้กับสถานพำนักของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น

ขอขอบคุณข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดตามได้จากลิ้งค์นี้ค่ะ https://www.th.emb-japan.go.jp/itpr_th/consular_amarri.html

04 มีนาคม 2567

ผู้ชม 61 ครั้ง

Engine by shopup.com